วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก

  • โครงสร้างของพระสุตตันตปิฎก

รายละเอียดและชื่อย่อหมวดย่อยพระสุตตันตปิฎก
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎก เล่ม ๙ ๓๓
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย (เล่มที่ ๙-๑๑)
รวบรวมพระสูตรขนาดยาว รวม ๓๔ สูตร แบ่งเป็น ๓ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๙ทีฆนิกายสีลขันธวรรค
รวบรวมพระสูตรขนาดยาว หมวดที่ว่าด้วยกองศีล ๑๓ พระสูตร มีพรหมชาลสูตร, สามัญญผลสูตร เป็นต้น
เล่มที่ ๑๐ทีฆนิกายมหาวรรค
รวบรวมพระสูตรขนาดยาว หมวดที่ว่าด้วยเรื่องใหญ่ๆ ๑๐ พระสูตร มีมหาสติปัฏฐานสูตร มหาปรินิพพานสูตร เป็นต้น
เล่มที่ ๑๑ทีฆนิกายปาฏิกวรรค
รวบรวมพระสูตรขนาดยาว ๑๑ พระสูตร เรียกชื่อเล่มตามพระสูตรแรกในเล่มคือ ปาฏิกสูตร
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎกมัชฌิมนิกาย (เล่มที่ ๑๒๑๔)
รวบรวมพระสูตรความยาวขนาดกลาง รวม ๑๕๒ สูตร แบ่งเป็น ๓ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๑๒มัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์
รวบรวมพระสูตรขนาดกลาง๕ วรรค วรรคละ ๑๐ พระสูตร นำด้วยมูลปริยายสูตร
เล่มที่ ๑๓มัชฌิมนิกายมัชฌิมปัณณาสก์
รวบรวมพระสูตรขนาดกลาง ๕ วรรค วรรคละ ๑๐ พระสูตร แบ่งวรรคตามประเภทบุคคล เช่น คหปติวรรค เป็นพระสูตรว่าด้วย คฤหบดี หรือผู้ครองเรือน, ปริพาชกวรรค เป็นพระสูตรว่าด้วยปริพาชก เป็นต้น
เล่มที่ ๑๔มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์
รวบรวมพระสูตรขนาดกลาง ๕ วรรค รวม ๕๒ พระสูตร นำด้วยเทวทหสูตร เป็นพระสูตรว่าด้วยเหตุการณ์ในเทวทหนิคม
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎกสังยุตตนิกาย (เล่มที่ ๑๕๑๙)
รวบรวมพระสูตรโดยประมวลเรื่องเข้าไว้เป็นหมวดหมู่ รวม ๗,๗๖๒ สูตร แบ่งเป็น ๕ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๑๕สังยุตตนิกายสคาถวรรค
รวบรวมพระสูตร ๑๑ สังยุตต์ เป็นพระสูตรที่มีคาถา หรือคาสอนเป็นบทกวีสอนบุคคลต่างๆ แบ่งตามบุคคล และสถานที่ เช่น เทวตาสังยุตต์ ประมวลพระสูตรที่ทรงสอนเทวดา, มารสังยุตต์ ประมวลพระสูตรที่ทรงสอนมาร เป็นต้น
เล่มที่ ๑๖สังยุตตนิกายนิทานวรรค
รวบรวมพระสูตร ๙ สังยุตต์ ที่ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งการเวียนว่ายตายเกิด (ปฏิจจสมุปบาท)
เล่มที่ ๑๗สังยุตตนิกายขันธวารวรรค
รวบรวมพระสูตร ๑๓ สังยุตต์ เป็นพระสูตรว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ รูปและนาม ในแง่มุมต่างๆ
เล่มที่ ๑๘สังยุตตนิกายสฬายตนวรรค
รวบรวมพระสูตร ๑๐ สังยุตต์ เป็นพระสูตรว่าด้วยเรื่องอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์
เล่มที่ ๑๙สังยุตตนิกายมหาวารวรรค
รวบรวมพระสูตร ๑๒ สังยุตต์ เป็นพระสูตรว่าด้วยเรื่องใหญ่ๆที่สำคัญ คือ โพธิปักขิยธรรม มี มรรค, โพชฌงค์, สติปัฏฐาน เป็นต้น
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย (เล่มที่ ๒๐๒๔)
รวบรวมพระสูตรโดยประมวลตามจำนวนข้อของหลักธรรม รวม ๙,๕๕๗ สูตร แบ่งเป็น ๕ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๒๐อังคุตตรนิกายเอก-ทุก-ติกนิบาต
รวบรวมพระสูตรที่ว่าด้วยหลักธรรมที่มีจำนวน ๑, , ๓ ข้อ เช่น เอตทัคคปาลิ (บาลีว่าด้วยเอตทัคคะ), การบูชา ๒ อย่าง (ให้อามิส กับให้ธรรม) และ ทุจริต ๓ (ทุจริตทางกาย วาจา ใจ) เป็นต้น
เล่มที่ ๒๑อังคุตตรนิกายจตุกกบาต
รวบรวมพระสูตรที่ว่าด้วยหลักธรรมที่มีจำนวน ๔ ข้อ เช่น จักร ๔, สมาธิภาวนา ๔, ปฏิปทา ๔ เป็นต้น
เล่มที่ ๒๒อังคุตตรนิกายปัญจก-ฉักกบาต
รวบรวมพระสูตรที่ว่าด้วยหลักธรรมที่มีจำนวน ๕,๖ ข้อ เช่น กำลัง ๕ ของพระเสขะ, อานิสงส์ ๕ ของการเดินจงกรม เป็นต้น
เล่มที่ ๒๓อังคุตตรนิกายสัตตก-อัฏฐก-นวกบาต
รวบรวมพระสูตรที่ว่าด้วยหลักธรรมที่มีจำนวน ๗, , ๙ ข้อ เช่น สังโยชญ์ ๗, อานิสงส์ ๘ ของเมตตา, พระอรหันต์ย่อมไม่ทำการ ๙ อย่าง เป็นต้น
เล่มที่ ๒๔อังคุตตรนิกายทสก-เอกาทสกนิบาต
รวบรวมพระสูตรที่ว่าด้วยหลักธรรมที่มีจำนวน ๑๐, ๑๑ ข้อ เช่น ประโยชน์ ๑๐ ประการที่ทรงบัญญัติสิกขาบท, อานิสงส์ ๑๑ ของเมตตาเจโตวิมุติ เป็นต้น
โครงสร้างพระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย (เล่ม๒๕๓๓)
รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ด, ภาษิตพระสาวก และชาดก แบ่งเป็น ๙ เล่ม ดังนี้
เล่มที่ ๒๕ขุททกนิกาย
รวบรวมพระสูตรเบ็ดเตล็ดต่างๆ แบ่งเป็น ๕ หมวดย่อย ดังนี้
๑. ขุททกปาฐะบทสวดเล็กๆ เช่น สรณคมนะ, ทสสิกขาบท, มงคลสูตร เป็นต้น
๒. ธัมมปทคาถาธรรมบท คือ สุภาษิตสั้นๆ รวม ๔๒๓ บท
๓. อุทานพุทธภาษิต แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามเหตุการณ์
๔. อิติวุตตกะเป็นข้อความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ แบ่งเป็นหมวดหมู่ตามจำนวนข้อ
๕. สุตตนิบาตพระสูตรเบ็ดเตล็ด แบ่งเป็น ๕ วรรคย่อย
เล่มที่ ๒๖ขุททกนิกาย
รวบรวมพระสูตรต่างๆ แบ่งเป็นหมวดหมู่ย่อย ๔ หมวด ดังนี้
๑. วิมานวัตถุรวบรวมการถามตอบระหว่างพระมหาโมคคัลลานะ และเทพบุตร เทพธิดา ว่าด้วยเรื่องเหตุอย่างไร ทำให้ได้วิมานอย่างไร
๒. เปตวัตถุว่าด้วยเหตุที่ทำให้ไปเกิดเป็นเปรตในสภาวะต่างๆ
๓. เถรคาถารวบรวมภาษิตเตือนใจภิกษุ
๔. เถรีคาถารวบรวมภาษิตเตือนใจภิกษุณี
เล่มที่ ๒๗ขุททกนิกายชาดก๑
ภาคแรกของชาดก รวบรวมชาดกเรื่องสั้นๆ ๕๒๕ เรื่อง เล่าเรื่องการที่พระพุทธเจ้าทรงเวียนว่ายตายเกิด บำเพ็ญบารมีมาในชาติต่างๆ
เล่มที่ ๒๘ขุททกนิกายชาดก๒
ภาคที่สองของชาดก รวมชาดกเรื่องยาว ๒๒ เรื่อง รวมถึงชาดกทศชาติ คือการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ชาติสุดท้ายของพระพุทธเจ้า ก่อนการตรัสรู้
เล่มที่ ๒๙ขุททกนิกายมหานิเทส
รวบรวมภาษิตพระสารีบุตร ซึ่งเป็นคำอธิบายพระสูตรโดยพระสารีบุตร ๑๖ พระสูตร
เล่มที่ ๓๐ขุททกนิกายจูฬนิเทส
รวบรวมภาษิตพระสารีบุตร ต่อจากเล่มที่ ๒๙ ซึ่งเป็นคำอธิบายพระสูตรโดยพระสารีบุตร ๑๗ พระสูตร
เล่มที่ ๓๑ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค
ภาษิตพระสารีบุตร ซึ่งเป็นคำอธิบายพระสูตรที่เกี่ยวกับทางแห่งความแตกฉาน โดยพระสารีบุตร มี มหาวรรค (เรื่องใหญ่ๆ ๑๐ เรื่อง), ยุคนัทธวรรค (เรื่องสมถะและวิปัสนา ๑๐ เรื่อง) และ ปัญญาวรรค (ว่าด้วยปัญญา ๑๐ เรื่อง)
เล่มที่ ๓๒ขุททกนิกายอปทาน ๑
รวบรวมประวัติการบำเพ็ญความดีงามของพระพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก
เล่มที่ ๓๓ขุททกนิกายอปทาน ๒
ว่าด้วยเรื่องของพุทธวังสะ (วงศ์ของพระพุทธเจ้า คือพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์), พุทธจริยา และการบาเพ็ญบารมีในชาติต่างๆ








[1] www.buddhabucha.net/sutta-pitaka-structure/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น