แบบฝึกหัดพระสุตตันตปิฎก
บทที่ ๓
๑. มัชฌิมนิกาย มีพระสูตรเท่าไหร่
ก. ๕๐ สูตร
ข. ๑๐๐ สูตร
ค. ๑๕๐ สูตร ง.
๑๕๒ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย แบ่งเป็นกี่ปัณณาสก์ อะไรบ้าง
ก. ๑ ปัณณาสก์
คือ มูลปัณณาสก์
ข. ๒ ปัณณาสก์ คือ มูลปัณณาสก์
และมัชฌิมปัณณาสก์
ค. ๓ ปัณณาสก์
คือ มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ และอุปริปัณณาสก์
ง. ๓ ปัณณาสก์
คือ มูลปัณณาสก์ มัชฌิมปัณณาสก์ อปัณณกปัณณาสก์
๓. แต่ละปัณณาสก์แบ่งออกเป็นกี่วรรค
ก. ๒ วรรค ข.
๓ วรรค
ค. ๔ วรรค ง.
๕ วรรค
๔. แต่ละวรรค มีหลักการตั้งชื่อวรรคอย่างไร
ก. ตั้งตามลักษณะเนื้อหาของพระสูตรในวรรคนั้นๆ
ข.
ตั้งตามชื่อของพระสูตรแรกในวรรค
ค.
ตั้งตามความยาวของพระสูตร
ง. ถูกทั้ง ข้อ
ก. และ ข
๕. ในมูลปัณณาสก์มีวรรคอะไรบ้าง
ก.
มูลปริยายวรรค สีหนาทวรรค
ข. โอปัมมวรรค
มหายมกวรรค
ค. จูฬยมกวรรค
ง.ถูกทั้งทุกข้อ
๖. คหปติวรรค ภิกขุวรรค ปริพาชกวรรค ราชวรรค และพราหมณวรรค
อยู่ในปัณณาสก์อะไร
ก.
มัชฌิมปัณณาสก์
ข.
อุปริปัณณาสก์
ค.
อปัณณกปัณณาสก์
ง. ข้อ ก ถูก
๗. อลคัททูปมสูตร แสดงเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ก.
การศึกษาปริยัติธรรม
ข.
การปฏิบัติตามปริยัติธรรม
ค.
การแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ
ง. การแสดงเกี่ยวกับปริยัติสัทธรรม
๓ ระดับ
๘. ในอลคัททูปมสูตร
พระอริฏฐะ กล่าวตู่พระพุทธเจ้าว่าอย่างไร
ก. กล่าวตู่ว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสว่าเป็นอันตราย ไม่เป็นอันตราย
ข. กล่าวตู่ว่า ผู้ส้องเสพธรรมที่เป็นอันตรายไม่เป็นอันตราย
ค. กล่าวตู่ว่า เขารู้ทั่วถึงธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ทุกอย่าง
ง. ถูกทั้งข้อ ก และ ข
๙.
ในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงเปรียบกามเหมือนอะไรบ้าง
ก. เหมือนคบหญ้า
ข. เหมือนถ่านเพลิง
ค. เหมือนความฝัน
ง. ถูกทุกข้อ
๑๐. ในพระสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงบุคคลศึกษานวังคสัตถุศาสน์ไว้กี่ประเภท
อะไรบ้าง
ก. ๑ ประเภท คือ เรียน แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ข. ๑
ประเภท คือ เรียนแต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ค. ๒
ประเภท คือ เรียนแต่ไม่พิจารณา และเรียนแต่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ง.
ข้อ ค ถูก
๑๑. อรรถกถาจารย์แบ่งประเภทของผู้ศึกษาไว้กี่ประเภท
อะไรบ้าง
ก. ๑ ประเภท คือ อลคัททูปมปริยัติ
ข. ๒ ประเภท คือ อลคัททูปมปริยัติ นิสสรณัตถปริยัติ
ค. ๓ ประเภท คือ อลคัททูปมปริยัติ นิสสรณัตถปริยัติ และภัณฑาคาริกปรัยัติ
ง.
ข้อ ค ถูก
๑๒. ภัณฑาคาริกปริยัติ
คือ การศึกษาของบุคคลประเภทใด
ก. ผู้เรียนเพื่อมุ่งลาภสักการะ
ข. ผู้เรียนเพื่อมู่งความหลุดพ้น
ค. ผู้เรียนเพื่อรักษาแบบแผน ประเพณี
ง. ผู้เรียนเอาไว้โต้เถียงกับคนอื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น